โดย จารุวรรณ สายคำฟู

Jaruwan Saikumfu:JINLIWAN :JUDY

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ทัศน์ นาฏ ตรี ศิลป์ศาสตร์







ทัศน์ นาฏ ตรี ศิลป์ศาสตร์ เป็นความตั้งใจในการรวบรวมศาสตร์แห่งศิลปะ ของผู้มีภูมิรู้ที่หลากหลายทั้งในด้านทัศนศิลป์ นาฏศิลป์ และดนตรี อันเป็นสายใยแห่งศาสตร์และศิลป์ ที่จะเกิดประโยชน์ต่อการศึกษาเรียนรู้ หรือการสร้างจินตนาการ(imagination)จินตภาพ(Image)จินตทัศน์(Imaging Art) เพื่อมุ่งสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ สู่ภาพลักษณ์แห่งจินตลีลา (Hint gracefully)ถ่ายทอดจากระบบคิดในสมอง ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปสู่งานศิลปะที่ผสมผสานกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ชุมชน สื่อการแสดงออก (Express Media) เป็นไปตามกระบวนการคิดและเจตนาของผู้สร้างสรรค์ ที่มีประสบการณ์และ อัตลักษณ์ (Individuality) เป็นปัจจัยสำคัญสู่ความเป็น "จินตศิลป์"(Imaginative Art)ทุกแขนงแห่งศาสตร์ทางศิลปะที่อ่อนช้อย พริ้วไหว สวยงาม มีแต่ความไพเราะ อ่อนนุ่ม หวานละมุนละไม ในรูปลักษณ์ที่สัมผัสได้ทั้งทางกายภาพ และทางเจตสิก ของความนึกคิด ความรู้สึก และอารมณ์ ภายใต้ห้วงแห่งจิตวิญญาณของมนุษย์เรา.
มีผู้ถ่ายทอด ทัศน์ นาฏ ตรี ศิลป์ศาสตร์ ไว้มากมายที่ท่านสามาถติดตาม ได้ตามความสนใจ ดังนี้
Studio Control the art by design of Phansakdi Chakkaphak.
INDEX to Phansakdi's ART.
Otto Botto Exhibition and Green Thinking Studio.
แนวโน้มของศิลปศึกษาในบริบทต่าง ๆ
พหุศิลปศึกษา (Arts Education)
งานวิจัย เกี่ยวกับการจัดการศึกษาสาระศิลปศึกษา
KID FUN PAGE
Penquin's Dream [ Clay Animation]
CLAY Animation Station (ต้องลงโปรแกรม QUICKTIME PLAYER ก่อนนะคะ)
CLAY Animation
CLAY Animation



ศิลปะเพื่อการศึกษา


ศิลปะ กับ ความรู้สึก
“กระหวัด เส้นขีดสาย ขีดลวดลาย เป็นลายศิลป์
สร้างสรรค์ งานระบิล ระบือลั่น ระบัดลาย
ร้อยรัด กระหวัดปลาย วาดหมายงาน ให้หลากหลาย
ธรรมชาติ อันเคียงคล้าย ละม้ายแสง แฝงในลาย
เลี้ยวหลั่น บรรจงสาย ไหวพริ้วพราย ละมุนหมาย
อ่อนช้อย รอยพรรณราย กระหวัดจัด คัดสรรมา.”
ศิลปะเพื่อการศึกษา
สิ่งสำคัญที่สุดและเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษารอบสองที่เรามุ่งเน้นในเรื่องของการแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่าย นั่นก็คือมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญเป็น 1 ใน 3 เสาหลักของการปฏิรูปการศึกษารอบสอง คือ 1. คุณภาพ 2.โอกาส และ 3. การมีส่วนร่วม ซึ่งผมขอเรียนพวกเราทุกท่านในที่นี้ได้รับทราบว่า รัฐบาลชุดนี้และกระทรวงศึกษาธิการยุคนี้ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาการศึกษาของประเทศสร้างคน และสำคัญที่สุดคือการสร้างอนาคตให้กับประเทศของเรา สำหรับงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ถือว่าเป็นงานที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่สอดคล้องกับนโยบายที่ต้องการส่งเสริมให้เด็กเยาวชนแสดงความสามารถ เพื่อยกระดับคุณภาพอันเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา และการพัฒนาคน ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและรัฐบาล มีความสอดคล้องกับ นโยบายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 และ 9 รวมทั้งกฎหมายรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2537 และพระราชบัญญัติการศึกษาปี พ.ศ. 2542 ต้องการปรับปรุง ปฏิรูปคุณภาพการศึกษาให้ทันสมัย สอดรับกับความต้องการทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงในระดับนานาชาติโดยมีการรวมกระทรวงศึกษาธิการ เข้ากับทบวงมหาวิทยาลัยกลายเป็นกระทรวงการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2545 ยิ่งทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาระดับความรู้ ความสามารถของคณาจารย์รวมทั้งนักการศึกษา ที่เกี่ยวข้องในการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีระดับสากลสำหรับการจัดกระบวนการปรับปรุงการเรียน การสอน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำวิจัยทางกลุ่มนักการศึกษา ทางด้านวิชาชีพสร้างสรรค์ (creative professions) อันได้แก่ ศิลปกรรมศาสตร์ สื่อ การออกแบบ ซึ่งรวมไปถึงด้านศิลปศึกษา ดนตรี และ นาฏศิลป์ ตลอดจนการละครเป็นที่ยอมรับของนานาชาติว่า พื้นฐานสำคัญที่ผลักดันให้การประยุกต์เอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนประสบผลสำเร็จประกอบไปด้วย พัฒนาการด้านศิลปกรรมศาสตร์ สื่อ และการออกแบบ ซึ่งสถานะการณ์ปัจจุบันในประเทศไทยปรากฏว่า ระดับผู้บริหาร ผู้สอน ศิลปิน นักออกแบบ นักเทคโนโลยี โปรแกรมเมอร์ ช่างเทคนิค และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในวงการดังกล่าวของขององค์กรต่าง ๆ ส่วนมากถึงแม้จะมีชื่อเสียงและเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชา แต่มักประกอบด้วยผู้สูงอายุ จบการศึกษามาเป็นเวลานาน ไม่สามารถจะหาโอกาสและเวลาทำการศึกษาต่อหรือหาความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มเติมได้ การสื่อสารกับคนรุ่นใหม่เ ริ่มเกิดปัญหาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกท้อถอย และหมดกำลังใจที่จะทำงาน ประกอบกับพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสากลมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วยิ่งในช่วงระยะเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมาและทรงอิทธิพลในขั้นที่จะชี้นำให้เกิดการยอมรับของประชาชนเป็นจนกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนทุกหมู่เหล่าในทุกประเทศอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ อิทธิพลดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งมวลของสังคมตามมาอย่างต่อเนื่องประดุจเกลียวคลื่น ผู้ใด และสังคมใด ต่อต้าน ขัดขืน หรือปฏิเสธ ก็ไม่สามารถก้าวตามทันโลกภายนอก กลายเป็นผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ดำรงอยู่ในความล้าหลัง และยากลำบากอย่างไม่น่าเป็นไปได้
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเทคโนโลยีและงานวิจัยทางศิลปศึกษา และวิทยาศาสตร์ จึงได้รวบรวม WEBSITE และ URL ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการช่วยพัฒนาศักยภาพและผลักดันนักการศึกษาด้านวิชาชีพสร้างสรรค์ ทางศิลปะและวิทยาศาสตร์ สื่อการเรียนการสอน การออกแบบ ดนตรี นาฏศิลป์ ดัง WEBSITE และ URL ต่อไปนี้


KID FUN PAGE http://www.yesnet.yk.ca/schools/wes/kid_links/fun_sites.html
Penquin's Dream [ Clay Animation] http://www.youtube.com/watch?v=cj2LV6dFJ8M
CLAY Animation Station (ต้องลงโปรแกรม QUICKTIME PLAYER ก่อนนะคะ)
http://education.wichita.edu/claymation/
http://library.thinkquest.org/22316/home.html
http://library.thinkquest.org/22316/media/Change.mov
แนวโน้มของศิลปศึกษาในบริบทต่าง ๆ http://www.media.academic.chula.ac.th/arted/PROJECT/ARTICLE/Trend/mali2.htm
พหุศิลปศึกษา (Arts Education)
http://www.vattaka.com/art%20education.htm
งานวิจัย เกี่ยวกับการจัดการศึกษาสาระศิลปศึกษา
http://reserchongree1.blogspot.com/

ศิลปะกับรถม้าลำปาง









ภาพวาดสะพานรัษฎา ที่จัดแสดงในงาน ขัวหลวงรัษฎา 28 มีนาคม 2552
และภาพจาก http://www.shoponline2000.com/



Lampang is an ancient city of more than 1300 years. It is mentioned in various legends in 11 different names; namely Kukkudnakorn, Lampakappanakorn, Srinakornchai, Nakorn Vieng Kok Wua, Vieng Din, Kelang Nakorn, Nakorn Lampang Kam Kelang, Arlampang, Muang Lakorn, and Muang Nakorn Lampang.

Lampang was built in 680. According in Yonok historical record, a hermit named Suphrom Ruesi built a town for Prince Anantayot, son of Queen Jamadevi of Haripunchai’s Lamphune. The town was first named Kelang Nakorn and then changed into Nakorn Lampang.

In Yonok Chiangsaen period, Nakorn Lampang was governed by Khmer. It was later colonized by Berma and Chaing Mai in the period of King Thonburi about 250 years ago. Later, Lord Tipchang of Lampang has fought for Lamapng independence and established himself as Phraya Sulavaluechaisongkram, King of Lampang in 1736.

In 1764 Prince Kaewfa, son of Lord Tipchang governed Lampang and was the first ancestor of Na Lampang, Na Lamphune and Na Chiang Mai family. Prince Boonyawat Vongmanit was the last ruler of Lampang.

Lampang was announced as a province in Thailand in 1892 in the reign of King Rama V.

Lampang is an important source of minerals and fossil fuels, including lignite, kaolin, marble, granite, ballclay and wolfram.

http://www.lampang.go.th/images/Eng/eng_v.html
http://www.geocities.com/RainForest/7153/lumpang.htm