ศิลปะ กับ ความรู้สึก
“กระหวัด เส้นขีดสาย ขีดลวดลาย เป็นลายศิลป์
สร้างสรรค์ งานระบิล ระบือลั่น ระบัดลาย
ร้อยรัด กระหวัดปลาย วาดหมายงาน ให้หลากหลาย
ธรรมชาติ อันเคียงคล้าย ละม้ายแสง แฝงในลาย
เลี้ยวหลั่น บรรจงสาย ไหวพริ้วพราย ละมุนหมาย
อ่อนช้อย รอยพรรณราย กระหวัดจัด คัดสรรมา.”
ศิลปะเพื่อการศึกษา
สิ่งสำคัญที่สุดและเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษารอบสองที่เรามุ่งเน้นในเรื่องของการแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่าย นั่นก็คือมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญเป็น 1 ใน 3 เสาหลักของการปฏิรูปการศึกษารอบสอง คือ 1. คุณภาพ 2.โอกาส และ 3. การมีส่วนร่วม ซึ่งผมขอเรียนพวกเราทุกท่านในที่นี้ได้รับทราบว่า รัฐบาลชุดนี้และกระทรวงศึกษาธิการยุคนี้ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาการศึกษาของประเทศสร้างคน และสำคัญที่สุดคือการสร้างอนาคตให้กับประเทศของเรา สำหรับงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ถือว่าเป็นงานที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่สอดคล้องกับนโยบายที่ต้องการส่งเสริมให้เด็กเยาวชนแสดงความสามารถ เพื่อยกระดับคุณภาพอันเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา และการพัฒนาคน ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและรัฐบาล มีความสอดคล้องกับ นโยบายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 และ 9 รวมทั้งกฎหมายรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2537 และพระราชบัญญัติการศึกษาปี พ.ศ. 2542 ต้องการปรับปรุง ปฏิรูปคุณภาพการศึกษาให้ทันสมัย สอดรับกับความต้องการทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงในระดับนานาชาติโดยมีการรวมกระทรวงศึกษาธิการ เข้ากับทบวงมหาวิทยาลัยกลายเป็นกระทรวงการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2545 ยิ่งทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาระดับความรู้ ความสามารถของคณาจารย์รวมทั้งนักการศึกษา ที่เกี่ยวข้องในการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีระดับสากลสำหรับการจัดกระบวนการปรับปรุงการเรียน การสอน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำวิจัยทางกลุ่มนักการศึกษา ทางด้านวิชาชีพสร้างสรรค์ (creative professions) อันได้แก่ ศิลปกรรมศาสตร์ สื่อ การออกแบบ ซึ่งรวมไปถึงด้านศิลปศึกษา ดนตรี และ นาฏศิลป์ ตลอดจนการละครเป็นที่ยอมรับของนานาชาติว่า พื้นฐานสำคัญที่ผลักดันให้การประยุกต์เอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนประสบผลสำเร็จประกอบไปด้วย พัฒนาการด้านศิลปกรรมศาสตร์ สื่อ และการออกแบบ ซึ่งสถานะการณ์ปัจจุบันในประเทศไทยปรากฏว่า ระดับผู้บริหาร ผู้สอน ศิลปิน นักออกแบบ นักเทคโนโลยี โปรแกรมเมอร์ ช่างเทคนิค และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในวงการดังกล่าวของขององค์กรต่าง ๆ ส่วนมากถึงแม้จะมีชื่อเสียงและเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชา แต่มักประกอบด้วยผู้สูงอายุ จบการศึกษามาเป็นเวลานาน ไม่สามารถจะหาโอกาสและเวลาทำการศึกษาต่อหรือหาความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มเติมได้ การสื่อสารกับคนรุ่นใหม่เ ริ่มเกิดปัญหาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกท้อถอย และหมดกำลังใจที่จะทำงาน ประกอบกับพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสากลมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วยิ่งในช่วงระยะเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมาและทรงอิทธิพลในขั้นที่จะชี้นำให้เกิดการยอมรับของประชาชนเป็นจนกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนทุกหมู่เหล่าในทุกประเทศอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ อิทธิพลดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งมวลของสังคมตามมาอย่างต่อเนื่องประดุจเกลียวคลื่น ผู้ใด และสังคมใด ต่อต้าน ขัดขืน หรือปฏิเสธ ก็ไม่สามารถก้าวตามทันโลกภายนอก กลายเป็นผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ดำรงอยู่ในความล้าหลัง และยากลำบากอย่างไม่น่าเป็นไปได้
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเทคโนโลยีและงานวิจัยทางศิลปศึกษา และวิทยาศาสตร์ จึงได้รวบรวม WEBSITE และ URL ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการช่วยพัฒนาศักยภาพและผลักดันนักการศึกษาด้านวิชาชีพสร้างสรรค์ ทางศิลปะและวิทยาศาสตร์ สื่อการเรียนการสอน การออกแบบ ดนตรี นาฏศิลป์ ดัง WEBSITE และ URL ต่อไปนี้

KID FUN PAGE http://www.yesnet.yk.ca/schools/wes/kid_links/fun_sites.html
Penquin's Dream [ Clay Animation] http://www.youtube.com/watch?v=cj2LV6dFJ8M
CLAY Animation Station (ต้องลงโปรแกรม QUICKTIME PLAYER ก่อนนะคะ)
http://education.wichita.edu/claymation/
http://library.thinkquest.org/22316/home.html
http://library.thinkquest.org/22316/media/Change.mov
แนวโน้มของศิลปศึกษาในบริบทต่าง ๆ http://www.media.academic.chula.ac.th/arted/PROJECT/ARTICLE/Trend/mali2.htm
พหุศิลปศึกษา (Arts Education)
http://www.vattaka.com/art%20education.htm
งานวิจัย เกี่ยวกับการจัดการศึกษาสาระศิลปศึกษา
http://reserchongree1.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น